วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  27  เมษายน  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้อาจารย์มีการสอบร้องเพลงโดยอาจารย์จะจับเลขที่ขึ้นมาแล้วให้คนนั้นมาจับว่าตนเองจะได้ร้องเพลงอะไรการสอบในครั้งนี้สนุกมากและมันทำให้เราได้รู้ว่ายังมีเพื่อนอีกหลายคนที่ร้องไม่ค่อยได้แต่ภาพรวมแล้ววันนี้สนุกมากไม่เครียดและไม่น่าเบื่อเลยเราสามารถที่จะจดจ่อกับสิ่งนั้นได้ตลอดระยะเวลาที่เพื่อนออกมาร้องเพื่อลุ้นว่าเพื่อนจะจับได้เพลงอะไรและเราจะได้ร้องเพลงอะไร

*เนื้อเพลงที่ใช้ในการสอบครั้งนี้*

*มอบรางวัลให้กับคนที่ได้คะแนนการปั๊มมาเรียนเยอะที่สุด*

*ภาพความประทับใจในสัปดาห์สุดท้าย*


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเพลงที่อาจารย์ให้ร้องทุกเพลงนำไปร้องให้เด็กฟังรวมถึงสามารถสอนเด็กในอนาคตได้อีกด้วยเพราะในเนื้อหาแต่ละเพลงสามารถสอนเด็กได้ทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นการทานผักผลไม้ กิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกาย 

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เวลาเพื่อนออกมาร้องเพลงหน้าห้องก็ตั้งใจฟังและช่วยเพื่อนร้องอย่างเต็มที่
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันตรงเวลา ตั้งใจซ้อมร้องเพลงกันอย่างมากเวลาสอบก็ทำเต็มที่ถึงจะมีพูดคุยกันบ้างบางเวลาแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นๆร้อง
อาจารย์ =อาจารย์มีการอวยพรรวมถึงพูดความรู้สึกความประทับใจที่มีต่อการสอนในห้องนี้ซึ่งมันทำให้พวกเรารู้ว่าถึงพวกเราจะพูดกันมากแต่พวกเราก็ตั้งใจเรียน

นางสาวชลิดา      อินทร์ถนอม

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  23  เมษายน  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)ซึ่งในเนื้อหาจะประกอบไปด้วยดังนี้  
แผน IEP
•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ •ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
•เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก 
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง 
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน 
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น 
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน 
•วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
•ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน 
•ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน 
•ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม 
•ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก 
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป 
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก 
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ 
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว (กำหนดโดยกว้างๆ)
ระยะสั้น (กำหนดให้อยู่ในจุกหมายหลัก) สอนใคร สอนอะไร สอนเมื่อไหร่ ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

               จากนั้นครูก็ให้แบ่งกลุ่มเพื่อช่วยกันเขียนแผน IEP เมื่อเขียนเสร็จภายในกลุ่มก็ให้แต่ละคนกลับไปเขียนแผน IEP ของตนเองโดยจับคู่เขียนกับเพื่อน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้และจากที่อาจารย์สอนการให้คำแนนำและได้ลองลงมือทำด้วยตนเองทำให้รู้ว่าการเขียนแผนให้กับเด็กพิเศษไม่ใช่เรื่องยากและเรายังสามารถนำความรู้ในครั้งนี้ไปใช้ในอนาคตได้ในการเขียนแผนให้กับเด็กพิเศษในห้องเรียน

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ในเวลาเรียนก็จะตั้งใจเรียนแต่อาจมีคุยกับเพื่อนบ้างจนอาจารย์ต้องดุอยู่บ่อยครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนสนใจตอบคำถามกันเป็นอย่างดีแต่คุยกันเสียงดังมากจนอาจารย์ต้องพูดเตือนสติอยู่บ่อยครั้ง
อาจารย์ = อาจารย์มีการทบทวนความรู้ใหม่และเก่าสอนเข้าใจชัดเจนมองเห็นภาพสอนสนุกไม่น่าเบื่อเวลาเรียน สอนเข้าใจสอนให้มองเห็นภาพง่ายๆทำให้เราไม่สับสนและสามารถทำด้วยตนเองได้

นางสาวชลิดา      อินทร์ถนอม

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  9  เมษายน  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เป็นการเฉลยแบบทดสอบที่สอบไปเมื่อครั้งที่แล้วซึ่งมีบางข้อที่ทำไม่ถูกก็มีการเฉลยข้อสอบแบบนี้ทำให้เราสามารถวัดได้ว่าเราทำได้ประมาณไหนควรเรียนหรือศึกษาตรงจุดไหนเพิ่มเป็นพิเศษหรือมีอะไรที่สงสัยไม่ชัดเจนก็สามารถพูดคุยถามอาจารย์ได้เสร็จแล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลงซึ่งจะมีการสอบร้องเพลงด้วยในสัปดาห์ต่อไปที่เจอกันจากนั้นก็มาสอนเนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้คือเรื่อง "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
•ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ 
•จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
*การทำตามแบบอย่างจากสิ่งที่เห็น
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
•เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ 
•เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ 
•คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
•ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
•ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
•การกรอกน้ำ ตวงน้ำ 
•ต่อบล็อก 
•ศิลปะ 
•มุมบ้าน 
•ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
•ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ 
•รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
•จากการสนทนา 
•เมื่อเช้าหนูทานอะไร 
•แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
•จำตัวละครในนิทาน 
•จำชื่อครู เพื่อน 
•เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
•การเปรียบเทียบ
•การจำแนก
•การสังเกต
•การวิเคราะห์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
•จัดกลุ่มเด็ก 
•เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ 
•ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน 
•ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง 
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย 
•บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด 
•รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน 
•มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ 
•เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
*พูดในทางที่ดี
*จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
*ทำบทเรียนให้สนุก




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้และจากที่อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบมาทบทวนความรู้เพื่อนำความรู้ที่ถูกต้องไปศึกษาและพัฒนาต่อให้มีความรู้ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นสามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริงเวลาที่เจอเหตุการณ์ต่างๆในห้องเรียนรวม

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ในเวลาเรียนก็จะตั้งใจเรียนแต่อาจมีคุยกับเพื่อนบ้างจนอาจารย์ต้องดุอยู่บ่อยครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนสนใจตอบคำถามกันเป็นอย่างดีแต่คุยกันเสียงดังมากจนอาจารย์ต้องพูดเตือนสติอยู่บ่อยครั้ง
อาจารย์ = อาจารย์มีการทบทวนความรู้ใหม่และเก่าสอนเข้าใจชัดเจนมองเห็นภาพสอนสนุกไม่น่าเบื่อเวลาเรียน


นางสาว ชลิดา อินทร์ถนอม

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  26  มีนาคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาเกี่ยวกับรายวิชานี้เป็นการเก็บคะแนน 10 คะแนน ซึ่งได้มีการเตรียมตัวมาในการสอบครั้งนี้มีบางข้อที่ลังเลสับสนบ้างแต่การสอบแบบนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะเราจะได้ทบทวนความรู้ว่าเรามีความรู้ที่เรียนมามากน้อยเพียงไหนแต่จากที่ดิฉันได้สอบไปคิดว่าคงต้องตั้งใจเรียนกว่านี้ให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าใจในเนื้อหาตรงจุดนั้นให้ชัดเจนและสามารถที่จะนำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ได้รวมถึงสามารถบอกคนอื่นต่อไปได้เวลามีคนมาถาม


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการสอบไปหาข้อมูลหรือไปอ่านตรงจุดที่เราไม่เข้าใจเพื่อที่จะเข้าใจในตรงจุดนั้นเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะได้ไปใช้กับเด็กได้ถูกวิธีและถูกต้องและสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมมาสามารถนำไปบอกต่อคนอื่นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำข้อสอบก็จะตั้งใจทำเพื่อที่จะได้รู้ศักยภาพของตนเองด้วยว่าต้องควรปรับปรุงหรือส่งเสริมในจุดไหนบ้าง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจสอบไม่คุยกันเสียงดังแอบมีปรึกษากันบ้างนิดหน่อย
อาจารย์ = อาจารย์มีการแนะแนวทางในการทำข้อสอบมีการพูดคุยเพื่อไม่ให้นักศึกษาเครียดจนเกินไป


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  19  มีนาคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ แต่ก่อนที่อาจารย์จะสอนอาจารย์ให้ตอบคำถามเชิงจิตวิทยาเป็นคำถามสนุกๆเพื่อคลายความเครียดก่อนที่จะเรียนเนื้อหาจากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมระบายสีเป็นวงกลมตามใจชอบ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
•เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
•อยากทำงานตามความสามารถ
•เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
•การได้ทำด้วยตนเอง
•เชื่อมั่นในตนเอง
•เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
•ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
•ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
•ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
•“ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
•เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
•หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
•เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
•มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
•แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
•เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
•เข้าไปในห้องส้วม
•ดึงกางเกงลงมา
•ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
•ปัสสาวะหรืออุจจาระ
•ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
•ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
•กดชักโครกหรือตักน้ำราด
•ดึงกางเกงขึ้น
•ล้างมือ
•เช็ดมือ
•เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
•แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ 


*ภาพกิจกรรมระบายสีวงกลม*
ซึ่งวงกลมนี้สามารถบ่งบอกถึงนิสัยจิตใจของตัวเราได้ซึ่งจุดที่อยู่ในสุดสามารถบ่งบอกได้เราจิตใจข้างในเราเป็นอย่างไรวงกลมวงนอกสุดคือสิ่งที่เราแสดงออกมา




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เมื่เราเจอสถานการณ์ต่างๆ เช่นในห้องเรียนรวมที่มีเด็กพิเศษเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่ต้องการจะทำอะไรแล้วเขาไม่สามารถทำด้วยตนเองได้เราจะมีวิธีที่จะช่วยเขาอย่างไรโดยที่เราให้เขาสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือถ้าห้องนั้นมีเด็กพิเศษจะมีวิธีการอย่างไรในการสอนเด็กเหล่านั้นให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ และกิจกรรมที่ทำคือกิจกรรมระบายสีเป็นวงกลมตามใจชอบซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถนำไปใช้กับเด็กได้เพราะสามารถดูเด็กแต่ละคนได้ด้วยว่าแต่ละคนเป็นอย่างไรสามารถบ่งบอกตัวตนของแต่ละคนได้เพื่อที่เราจะได้รู้ถึงพฤติกรรมของแต่ละคนในห้องเรียน
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบเจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม นอกจากนี้ยังมีการร้องเพลงอีกด้วย สุดท้ายกิรรมที่อาจารย์เตรียมมาเป็นกิจกรรมที่ง่ายสามรถนำไปใช้กับเด็กได้จริงและยังสนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนอีกด้วย


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  12  มีนาคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ จากนั้นได้ให้ร้องเพลงที่สอนไปเมื่อสัปดาห์ก่อนโดยเป็นการทบทวนว่าร้องกันได้หรือไม่จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมบำบัดโดยใช้เสียงเพลงและศิลปะเป็นตัวช่วยในการบำบัดทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
•เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
•ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
•ถามหาสิ่งต่างๆไหม
•บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
•ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
•การพูดตกหล่น
•การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
•ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
•ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
•ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
•อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
•อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
•ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
•ทักษะการรับรู้ภาษา
•การแสดงออกทางภาษา
•การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
•การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
•ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
•ให้เวลาเด็กได้พูด
•คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
•เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
•เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
•ใช้คำถามปลายเปิด
•เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
•ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)

ภาพประกอบการเรียนการสอน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนรวมถึงในสถานการณ์ต่างๆที่เราอาจจะเจอในอนาคตได้ เช่นในห้องเรียนรวมเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันหรือถ้าห้องนั้นมีเด็กพิเศษจะมีวิธีการอย่างไรในการสอนเด็กเหล่านั้นให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ นอกจากนี้มีเพลงที่สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้หรือใช้ร้องให้เด็กพิเศษฟังได้ และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมบำบัดคือใช้ดนตรีและศิลปะในการบำบัดซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงซึ่งเด็กน่าจะมีความสุขและเพลิดเพลินในการทำกิจกรรม
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบเจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม นอกจากนี้ยังมีการร้องเพลงอีกด้วย สุดท้ายกิรรมที่อาจารย์เตรียมมาเป็นกิจกรรมที่ง่ายสามรถนำไปใช้กับเด็กได้จริงและยังสนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนอีกด้วย


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  19  กุมภาพันธ์  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วและยังมีกิจกรรมแบบทดสอบเพื่อได้ผ่อนคลายก่อนการเรียนเนื้อหาที่อ.ได้เตรียมมาและต่อด้วยกิจกรรมฝึกร้องเพลงที่อ.แจกให้นักศึกษาร้องเพลงไปพร้อมๆกัน และสุดท้ายได้เข้าสู่เนื้อหาของวันนี้ คือ เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีเนื้อหาสาระ ดังนี้
ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึงยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก - ทำแผน IEPการกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง - คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ - ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป - เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน - ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
*สุดท้ายเป็นกิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็ก*
- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- คุยกันว่าใครเป็นเด็กพิเศษใครเป็นเด็กปกติ
- ตกลงกันว่าใครเป็นคนวาดเส้น ใครเป็นคนวาดจุด
- เมื่ออ.เปิดเพลง คนที่ลากเส้นก็ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- คนที่วาดจุด ก็ให้ไปวาดจุดตรงที่เป็นส่วนของวงกลม จากคนที่วาดเส้นได้วาดเอาไว้
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ แล้วช่วยกันมองว่าเห็นเป็นรูปอะไร หลังจากนั้นก็วาดรูประบายสีตามที่เห็น

ภาพประกอบการเรียนการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนรวมถึงในสถานการณ์ต่างๆที่เราอาจจะเจอในอนาคตได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันจะมีวิธีการอย่างไรในการสอนเด็กเหล่านั้น นอกจากนี้มีเพลงที่สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของเพลงนั้น และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมบำบัดคือใช้ดนตรีในการบำบัดซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงซึ่งเด็กน่าจะมีความสุขเพราะขนาดเราทำเองเรายังรู้สึกสนุกและมีความสุขเพราะได้คิดอย่างอิสระเสรีไม่เครียด
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบเจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม นอกจากนี้ยังมีการร้องเพลงอีกด้วย สุดท้ายกิรรมที่อาจารย์เตรียมมาเป็นกิจกรรมที่ง่ายสามรถนำไปใช้กับเด็กได้จริงและยังสนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนอีกด้วย


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  12  กุมภาพันธ์  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

 ความรู้ที่ได้รับ
                 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ใส่ถุงมือไว้ข้างที่เราไม่ได้เขียนดินสอแล้วให้วาดรูปมือข้างนั้นโดยให้วาดรายละเอียดให้ได้เยอะที่สุดพอวาดออกมาแล้วบางคนก็จำรายละเววอียดได้ไม่ครบบางคนก็จำตำแหน่งรอยแผลเป็นตำแหน่งขี้แมลงวันผิดตำแหน่งอาจารย์เลยสอนว่ามือเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามองเห็นทุกวันแต่เราไม่เคยใส่ใจมองแค่ผ่านตาเฉยๆ
                  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ  การบันทึกพฤติกรรมเด็กสำคัญมากในการสอนแบบเรียนรวม(เห็นแล้วบันทึกเลย)
ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
-เด็กพิเศษชอบมาก
-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
ตารางประจำวัน
-กิจกรรมเคลื่อนไหว
-มุมเสรี
-เสริมประสบการณ์
-ศิลปะ
-ดนตรี(แทรกเข้ามา)
-กลางแจ้ง
ทัศนคติของครู
*ความยืดหยุ่น
-แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-ยอมรับความสามารถของเด็ก
-ตอบสนองความต้องการของเด็กแต่ละคน

ภาพประกอบกิจกรรม



การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นยังได้ฝึกการวาดรูปซึ่งการวาดรูปเราจำเป็นต้องไปใช้วาดรูปในการสอนเด็กเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกภาพจะเป็นสื่อที่แสดงที่ความหมายของคำที่เราเขียนลงไปเพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม




วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  5  กุมภาพันธ์  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม แต่ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปดอกไม้ที่เห็นในภาพให้เก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุดและให้เหมือนที่สุดซึ่งภาพที่อาจารย์ให้ดูเป็นภาพดอกหางนกยูง เสร็จแล้วก็ต่อด้วยการร้องเพลงฝึกกายบริหาร
ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก 
-อาการที่แสดงออกนั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่เด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในด้านบวกชมไว้ก่อนแล้วค่อยบอกแทรกถึงปัญหาเข้าไปให้เขาคิดเอง
ครูทำอะไรบ้าง?
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
*ห้องเรียนรวมบันทึกเด็กที่เข้าข่ายอย่างสม่ำเสมอไม่จำเป็นต้องบันทึกเด็กทุกคน
สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิกมักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่าย = นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
= ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
-การบันทึกต่อเนื่อง = ให้รายละเอียดได้มาก
= เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่ง
= ไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง = บันทึกลงบัตรเล็กๆ
= เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

*ภาพประกอบกิจกรรม*




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นยังได้ฝึกการวาดรูปซึ่งการวาดรูปเราจำเป็นต้องไปใช้วาดรูปในการสอนเด็กเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกภาพจะเป็นสื่อที่แสดงที่ความหมายของคำที่เราเขียนลงไปเพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม




บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  29  มกราคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์มี  
สัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา "วิกฤติหรือโอกาส...การศึกษาปฐมวัยไทยในเวทีอาเซียน" โรมแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ ทำให้ไม่มีการเรียนในวันดังกล่าว

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  22  มกราคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
ในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป            - การศึกษาพิเศษ
- การศึกษาแบบเรียนร่วม        - การศึกษาแบบเรียนรวม
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมเต็มเวลา
คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน และเด็กพิเศษจะได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยจะรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มรับเข้าการศึกษา และเด็กทุกคนจะมีบริการพิเศษความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- "สอนได้"
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
กิจกรรม
เป็นกิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษา และหลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนให้ร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย 5 เพลงซึ่งมีชื่อเพลง ดังนี้ 

1.เพลงดื่มนม
2. เพลงแปรงฟัน
3. เพลงพี่น้องกัน
4. เพลงอาบน้้ำ
5. เพลงมาโรงเรียน

ภาพประกอบการเรียนการสอน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  15  มกราคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
                   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมจากสัปดาห์ที่แล้วให้เพื่อนที่ยังไม่ได้มาเมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้เข้าใจเหมือนกันและให้ทำแบบทดสอบความรู้ที่เรียนมาจากวิชาที่แล้วว่าความรู้จากที่เรียนมาเมื่อเทอมญที่แล้วลืมหมดแล้วหรือยังรวมถึงในแบบทดสอบยังมีคำถามที่เกี่ยวกับวิชาความรู้ที่กำเรียนปัจจุบันว่ามีความรู้มากน้อยแค่ไหนมีความเข้าใจอย่างไรในรายวิชานี้ซึ่งพอนั่งทำไปรู้สึกว่าจำได้บ้างแต่ก็มีบ้างที่สับสนไม่แน่ใจในคำตอบนั้น
                   จากนั้นอาจารย์ได้เฉลยข้อสอบที่ทำไปเมื่อเทอมญที่แล้วเกี่ยวกับรายวิชาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งพออาจารย์เฉลยทำให้เข้าใจเนื้อหาในส่วนที่เราไม่เข้าใจมากขึ้นข้อไหนที่ลังเลเวลาทำข้อสอบก็เข้าใจชัดเจนมากยิ่งขึ้นทำให้รู้ว่าตนเองผิดในส่วนไหนบ้างในข้อสอบนั้นบางข้อก็เสียดายว่าไม่น่าผิดแต่ก็ผิดอาจจะสับสนเนื้อหาเวลาทำข้อสอบหรือรีบอ่านข้อสอบมากไปทำให้ไม่ทันได้คิดวิเคราะห์ดีๆเลยทำให้คะแนนหายไปบางส่วน
                   สุดท้ายอาจารย์ได้แจกแผ่นเนื้อเพลงซึ่งมีเพลงเด็กปฐมวัยมีบางเพลงที่เคยได้ยินบ้างแต่บางเพลงก็ไม่รู้จักอาจารย์ก็เลยสอนร้องเพลงและแบ่งให้แต่ละกลุ่มร้องโดยให้ร้องให้ถูกเสียงไม่เพี้ยนซึ่งบางกลุ่มก็ร้องได้ดีเข้าจังหวะดีพอเริ่มร้องได้ก็ให้ร้องพร้อมกัน


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำประสบการณ์ที่อาจารย์เล่าให้ฟังไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ และเรายังสามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ซึ่งร้องแล้วมีเนื้อหาที่สอนหรือบอกชัดเจนเข้าใจนำไปใช้สอนเด็กได้อีกด้วย
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีงานให้ทำที่ไม่ยากและง่ายเกินไป นอกจากนี้อาจารย์ยังได้เล่าพูดคุยเกี่ยวกับการเข้าค่ายของรุ่นพี่ให้นักศึกษาฟัง เป็นประสบการณ์เผื่อเรามีโอกาสได้ไปจะได้รู้เอาไว้และอาจารย์มีการสอนร้องเพลงอีกด้วย 


นางสาวชลิดา    อินทร์ถนอม



วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  8  มกราคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
                 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้อธิบายถึงรายวิชาที่จะเรียนรวมทั้งอธิบายความหมายของรายวิชานี้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างการศึกษาแบบเรียนรวมหมายความว่าอย่างไร รวมถึงได้บอกการเก็บคะแนนว่าเก็บคะแนนจากอะไรตรงไหนบ้างเพราะในรายวิชานี้จะไม่มีการสอบ Final แต่จะเก็บคะแนนจากงานที่ทำในห้องเรียนความรับผิดชอบในการมาเรียนรวมถึงการทำ Blog 
                 สุดท้ายอาจารย์ได้แจกใบปั๊มเวลาเข้าเรียนและรางวัลเด็กดีซึ่งเป็นใบรวบรวมคะแนนและดูความรับผิดชอบจากการมาเรียนได้จากส่วนนี้ด้วยซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะเราสามารถรู้ได้ว่าเราขาดไปกี่ครั้งแล้วจากจำนวนตัวปั๊มที่อาจารย์ปั๊มให้เวลามาเข้าเรียน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอารายละเอียดที่อาจารย์ชี้แจงต่างๆไปเตือนตนเองในการมาเรียนรวมถึงการทำบล็อกเพราะในส่วนนี้มีคะแนนค่อนข้างมาก
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดอธิบายและเข้าใจในรายละเอียดต่างๆดี
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายแต่ก็มีคุยกันบ้างเป็นบางครั้งจนอาจารย์ต้องคอยดุ
อาจารย์ = อาจารย์พูดอธิบายเงื่อนไขต่างๆในการเรียนรายวิชานี้ได้ชัดเจนเข้าใจดี

นางสาวชลิดา     อินทร์ถนอม