วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  5  กุมภาพันธ์  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม แต่ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปดอกไม้ที่เห็นในภาพให้เก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุดและให้เหมือนที่สุดซึ่งภาพที่อาจารย์ให้ดูเป็นภาพดอกหางนกยูง เสร็จแล้วก็ต่อด้วยการร้องเพลงฝึกกายบริหาร
ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก 
-อาการที่แสดงออกนั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่เด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในด้านบวกชมไว้ก่อนแล้วค่อยบอกแทรกถึงปัญหาเข้าไปให้เขาคิดเอง
ครูทำอะไรบ้าง?
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
*ห้องเรียนรวมบันทึกเด็กที่เข้าข่ายอย่างสม่ำเสมอไม่จำเป็นต้องบันทึกเด็กทุกคน
สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิกมักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่าย = นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
= ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
-การบันทึกต่อเนื่อง = ให้รายละเอียดได้มาก
= เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่ง
= ไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง = บันทึกลงบัตรเล็กๆ
= เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

*ภาพประกอบกิจกรรม*




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นยังได้ฝึกการวาดรูปซึ่งการวาดรูปเราจำเป็นต้องไปใช้วาดรูปในการสอนเด็กเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกภาพจะเป็นสื่อที่แสดงที่ความหมายของคำที่เราเขียนลงไปเพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น