วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(EAED 3214)
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558
ภาคเรียนที่ 2/2557
เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
แผน IEP
•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ •ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
•เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
•วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
•ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
•ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
•ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
•ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
•ระยะยาว (กำหนดโดยกว้างๆ)
•ระยะสั้น (กำหนดให้อยู่ในจุกหมายหลัก) สอนใคร สอนอะไร สอนเมื่อไหร่ ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
จากนั้นครูก็ให้แบ่งกลุ่มเพื่อช่วยกันเขียนแผน IEP เมื่อเขียนเสร็จภายในกลุ่มก็ให้แต่ละคนกลับไปเขียนแผน IEP ของตนเองโดยจับคู่เขียนกับเพื่อน
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้และจากที่อาจารย์สอนการให้คำแนนำและได้ลองลงมือทำด้วยตนเองทำให้รู้ว่าการเขียนแผนให้กับเด็กพิเศษไม่ใช่เรื่องยากและเรายังสามารถนำความรู้ในครั้งนี้ไปใช้ในอนาคตได้ในการเขียนแผนให้กับเด็กพิเศษในห้องเรียน
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ในเวลาเรียนก็จะตั้งใจเรียนแต่อาจมีคุยกับเพื่อนบ้างจนอาจารย์ต้องดุอยู่บ่อยครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนสนใจตอบคำถามกันเป็นอย่างดีแต่คุยกันเสียงดังมากจนอาจารย์ต้องพูดเตือนสติอยู่บ่อยครั้ง
อาจารย์ = อาจารย์มีการทบทวนความรู้ใหม่และเก่าสอนเข้าใจชัดเจนมองเห็นภาพสอนสนุกไม่น่าเบื่อเวลาเรียน สอนเข้าใจสอนให้มองเห็นภาพง่ายๆทำให้เราไม่สับสนและสามารถทำด้วยตนเองได้
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนสนใจตอบคำถามกันเป็นอย่างดีแต่คุยกันเสียงดังมากจนอาจารย์ต้องพูดเตือนสติอยู่บ่อยครั้ง
อาจารย์ = อาจารย์มีการทบทวนความรู้ใหม่และเก่าสอนเข้าใจชัดเจนมองเห็นภาพสอนสนุกไม่น่าเบื่อเวลาเรียน สอนเข้าใจสอนให้มองเห็นภาพง่ายๆทำให้เราไม่สับสนและสามารถทำด้วยตนเองได้
นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น