วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  27  เมษายน  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้อาจารย์มีการสอบร้องเพลงโดยอาจารย์จะจับเลขที่ขึ้นมาแล้วให้คนนั้นมาจับว่าตนเองจะได้ร้องเพลงอะไรการสอบในครั้งนี้สนุกมากและมันทำให้เราได้รู้ว่ายังมีเพื่อนอีกหลายคนที่ร้องไม่ค่อยได้แต่ภาพรวมแล้ววันนี้สนุกมากไม่เครียดและไม่น่าเบื่อเลยเราสามารถที่จะจดจ่อกับสิ่งนั้นได้ตลอดระยะเวลาที่เพื่อนออกมาร้องเพื่อลุ้นว่าเพื่อนจะจับได้เพลงอะไรและเราจะได้ร้องเพลงอะไร

*เนื้อเพลงที่ใช้ในการสอบครั้งนี้*

*มอบรางวัลให้กับคนที่ได้คะแนนการปั๊มมาเรียนเยอะที่สุด*

*ภาพความประทับใจในสัปดาห์สุดท้าย*


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเพลงที่อาจารย์ให้ร้องทุกเพลงนำไปร้องให้เด็กฟังรวมถึงสามารถสอนเด็กในอนาคตได้อีกด้วยเพราะในเนื้อหาแต่ละเพลงสามารถสอนเด็กได้ทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นการทานผักผลไม้ กิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกาย 

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เวลาเพื่อนออกมาร้องเพลงหน้าห้องก็ตั้งใจฟังและช่วยเพื่อนร้องอย่างเต็มที่
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันตรงเวลา ตั้งใจซ้อมร้องเพลงกันอย่างมากเวลาสอบก็ทำเต็มที่ถึงจะมีพูดคุยกันบ้างบางเวลาแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นๆร้อง
อาจารย์ =อาจารย์มีการอวยพรรวมถึงพูดความรู้สึกความประทับใจที่มีต่อการสอนในห้องนี้ซึ่งมันทำให้พวกเรารู้ว่าถึงพวกเราจะพูดกันมากแต่พวกเราก็ตั้งใจเรียน

นางสาวชลิดา      อินทร์ถนอม

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  23  เมษายน  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)ซึ่งในเนื้อหาจะประกอบไปด้วยดังนี้  
แผน IEP
•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
•คัดแยกเด็กพิเศษ •ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
•ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
•เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
•แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
•ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก 
•ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง 
•การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน 
•เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น 
•ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน 
•วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
•ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน 
•ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน 
•ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม 
•ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
•เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก 
•เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
•ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป 
•เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก 
•ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
•ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ 
•ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
•เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว (กำหนดโดยกว้างๆ)
ระยะสั้น (กำหนดให้อยู่ในจุกหมายหลัก) สอนใคร สอนอะไร สอนเมื่อไหร่ ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

               จากนั้นครูก็ให้แบ่งกลุ่มเพื่อช่วยกันเขียนแผน IEP เมื่อเขียนเสร็จภายในกลุ่มก็ให้แต่ละคนกลับไปเขียนแผน IEP ของตนเองโดยจับคู่เขียนกับเพื่อน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้และจากที่อาจารย์สอนการให้คำแนนำและได้ลองลงมือทำด้วยตนเองทำให้รู้ว่าการเขียนแผนให้กับเด็กพิเศษไม่ใช่เรื่องยากและเรายังสามารถนำความรู้ในครั้งนี้ไปใช้ในอนาคตได้ในการเขียนแผนให้กับเด็กพิเศษในห้องเรียน

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ในเวลาเรียนก็จะตั้งใจเรียนแต่อาจมีคุยกับเพื่อนบ้างจนอาจารย์ต้องดุอยู่บ่อยครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนสนใจตอบคำถามกันเป็นอย่างดีแต่คุยกันเสียงดังมากจนอาจารย์ต้องพูดเตือนสติอยู่บ่อยครั้ง
อาจารย์ = อาจารย์มีการทบทวนความรู้ใหม่และเก่าสอนเข้าใจชัดเจนมองเห็นภาพสอนสนุกไม่น่าเบื่อเวลาเรียน สอนเข้าใจสอนให้มองเห็นภาพง่ายๆทำให้เราไม่สับสนและสามารถทำด้วยตนเองได้

นางสาวชลิดา      อินทร์ถนอม

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  9  เมษายน  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เป็นการเฉลยแบบทดสอบที่สอบไปเมื่อครั้งที่แล้วซึ่งมีบางข้อที่ทำไม่ถูกก็มีการเฉลยข้อสอบแบบนี้ทำให้เราสามารถวัดได้ว่าเราทำได้ประมาณไหนควรเรียนหรือศึกษาตรงจุดไหนเพิ่มเป็นพิเศษหรือมีอะไรที่สงสัยไม่ชัดเจนก็สามารถพูดคุยถามอาจารย์ได้เสร็จแล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลงซึ่งจะมีการสอบร้องเพลงด้วยในสัปดาห์ต่อไปที่เจอกันจากนั้นก็มาสอนเนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้คือเรื่อง "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
•ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ 
•จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
*การทำตามแบบอย่างจากสิ่งที่เห็น
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
•เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ 
•เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ 
•คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
•ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
•ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
•การกรอกน้ำ ตวงน้ำ 
•ต่อบล็อก 
•ศิลปะ 
•มุมบ้าน 
•ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
•ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ 
•รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
•จากการสนทนา 
•เมื่อเช้าหนูทานอะไร 
•แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
•จำตัวละครในนิทาน 
•จำชื่อครู เพื่อน 
•เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
•การเปรียบเทียบ
•การจำแนก
•การสังเกต
•การวิเคราะห์

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
•จัดกลุ่มเด็ก 
•เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ 
•ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน 
•ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง 
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย 
•บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด 
•รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน 
•มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ 
•เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
*พูดในทางที่ดี
*จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
*ทำบทเรียนให้สนุก




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้และจากที่อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบมาทบทวนความรู้เพื่อนำความรู้ที่ถูกต้องไปศึกษาและพัฒนาต่อให้มีความรู้ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นสามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริงเวลาที่เจอเหตุการณ์ต่างๆในห้องเรียนรวม

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ในเวลาเรียนก็จะตั้งใจเรียนแต่อาจมีคุยกับเพื่อนบ้างจนอาจารย์ต้องดุอยู่บ่อยครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนสนใจตอบคำถามกันเป็นอย่างดีแต่คุยกันเสียงดังมากจนอาจารย์ต้องพูดเตือนสติอยู่บ่อยครั้ง
อาจารย์ = อาจารย์มีการทบทวนความรู้ใหม่และเก่าสอนเข้าใจชัดเจนมองเห็นภาพสอนสนุกไม่น่าเบื่อเวลาเรียน


นางสาว ชลิดา อินทร์ถนอม