วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  19  กุมภาพันธ์  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วและยังมีกิจกรรมแบบทดสอบเพื่อได้ผ่อนคลายก่อนการเรียนเนื้อหาที่อ.ได้เตรียมมาและต่อด้วยกิจกรรมฝึกร้องเพลงที่อ.แจกให้นักศึกษาร้องเพลงไปพร้อมๆกัน และสุดท้ายได้เข้าสู่เนื้อหาของวันนี้ คือ เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีเนื้อหาสาระ ดังนี้
ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึงยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก - ทำแผน IEPการกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง - คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ - ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป - เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน - ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
*สุดท้ายเป็นกิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็ก*
- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- คุยกันว่าใครเป็นเด็กพิเศษใครเป็นเด็กปกติ
- ตกลงกันว่าใครเป็นคนวาดเส้น ใครเป็นคนวาดจุด
- เมื่ออ.เปิดเพลง คนที่ลากเส้นก็ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- คนที่วาดจุด ก็ให้ไปวาดจุดตรงที่เป็นส่วนของวงกลม จากคนที่วาดเส้นได้วาดเอาไว้
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ แล้วช่วยกันมองว่าเห็นเป็นรูปอะไร หลังจากนั้นก็วาดรูประบายสีตามที่เห็น

ภาพประกอบการเรียนการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนรวมถึงในสถานการณ์ต่างๆที่เราอาจจะเจอในอนาคตได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันจะมีวิธีการอย่างไรในการสอนเด็กเหล่านั้น นอกจากนี้มีเพลงที่สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของเพลงนั้น และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมบำบัดคือใช้ดนตรีในการบำบัดซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงซึ่งเด็กน่าจะมีความสุขเพราะขนาดเราทำเองเรายังรู้สึกสนุกและมีความสุขเพราะได้คิดอย่างอิสระเสรีไม่เครียด
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบเจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม นอกจากนี้ยังมีการร้องเพลงอีกด้วย สุดท้ายกิรรมที่อาจารย์เตรียมมาเป็นกิจกรรมที่ง่ายสามรถนำไปใช้กับเด็กได้จริงและยังสนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนอีกด้วย


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  12  กุมภาพันธ์  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

 ความรู้ที่ได้รับ
                 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ใส่ถุงมือไว้ข้างที่เราไม่ได้เขียนดินสอแล้วให้วาดรูปมือข้างนั้นโดยให้วาดรายละเอียดให้ได้เยอะที่สุดพอวาดออกมาแล้วบางคนก็จำรายละเววอียดได้ไม่ครบบางคนก็จำตำแหน่งรอยแผลเป็นตำแหน่งขี้แมลงวันผิดตำแหน่งอาจารย์เลยสอนว่ามือเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามองเห็นทุกวันแต่เราไม่เคยใส่ใจมองแค่ผ่านตาเฉยๆ
                  การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ  การบันทึกพฤติกรรมเด็กสำคัญมากในการสอนแบบเรียนรวม(เห็นแล้วบันทึกเลย)
ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
-เด็กพิเศษชอบมาก
-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
ตารางประจำวัน
-กิจกรรมเคลื่อนไหว
-มุมเสรี
-เสริมประสบการณ์
-ศิลปะ
-ดนตรี(แทรกเข้ามา)
-กลางแจ้ง
ทัศนคติของครู
*ความยืดหยุ่น
-แก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-ยอมรับความสามารถของเด็ก
-ตอบสนองความต้องการของเด็กแต่ละคน

ภาพประกอบกิจกรรม



การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นยังได้ฝึกการวาดรูปซึ่งการวาดรูปเราจำเป็นต้องไปใช้วาดรูปในการสอนเด็กเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกภาพจะเป็นสื่อที่แสดงที่ความหมายของคำที่เราเขียนลงไปเพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม




วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  5  กุมภาพันธ์  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม แต่ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปดอกไม้ที่เห็นในภาพให้เก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุดและให้เหมือนที่สุดซึ่งภาพที่อาจารย์ให้ดูเป็นภาพดอกหางนกยูง เสร็จแล้วก็ต่อด้วยการร้องเพลงฝึกกายบริหาร
ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก 
-อาการที่แสดงออกนั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่เด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในด้านบวกชมไว้ก่อนแล้วค่อยบอกแทรกถึงปัญหาเข้าไปให้เขาคิดเอง
ครูทำอะไรบ้าง?
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
*ห้องเรียนรวมบันทึกเด็กที่เข้าข่ายอย่างสม่ำเสมอไม่จำเป็นต้องบันทึกเด็กทุกคน
สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิกมักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่าย = นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
= ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
-การบันทึกต่อเนื่อง = ให้รายละเอียดได้มาก
= เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่ง
= ไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง = บันทึกลงบัตรเล็กๆ
= เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

*ภาพประกอบกิจกรรม*




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นยังได้ฝึกการวาดรูปซึ่งการวาดรูปเราจำเป็นต้องไปใช้วาดรูปในการสอนเด็กเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกภาพจะเป็นสื่อที่แสดงที่ความหมายของคำที่เราเขียนลงไปเพื่อให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม




บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  29  มกราคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์มี  
สัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา "วิกฤติหรือโอกาส...การศึกษาปฐมวัยไทยในเวทีอาเซียน" โรมแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ ทำให้ไม่มีการเรียนในวันดังกล่าว

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  22  มกราคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
ในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป            - การศึกษาพิเศษ
- การศึกษาแบบเรียนร่วม        - การศึกษาแบบเรียนรวม
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมเต็มเวลา
คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน และเด็กพิเศษจะได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยจะรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มรับเข้าการศึกษา และเด็กทุกคนจะมีบริการพิเศษความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- "สอนได้"
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
กิจกรรม
เป็นกิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษา และหลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนให้ร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย 5 เพลงซึ่งมีชื่อเพลง ดังนี้ 

1.เพลงดื่มนม
2. เพลงแปรงฟัน
3. เพลงพี่น้องกัน
4. เพลงอาบน้้ำ
5. เพลงมาโรงเรียน

ภาพประกอบการเรียนการสอน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้สอนเด็กพิเศษในอนาคตได้อาจารย์มีการสอดแทรกประสบการณ์ที่ตนเองได้รับหรือได้เห็นมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟังเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรม อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแม้ว่าอาจารย์จะไม่อยู่ก็ตาม เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อถามความเข้าใจเสร็จแล้วมีการสอนร้องเพลงแล้วให้ทุกคนร้องอีกด้วย

นางสาวชลิดา อินทร์ถนอม