วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  26  มีนาคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาเกี่ยวกับรายวิชานี้เป็นการเก็บคะแนน 10 คะแนน ซึ่งได้มีการเตรียมตัวมาในการสอบครั้งนี้มีบางข้อที่ลังเลสับสนบ้างแต่การสอบแบบนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะเราจะได้ทบทวนความรู้ว่าเรามีความรู้ที่เรียนมามากน้อยเพียงไหนแต่จากที่ดิฉันได้สอบไปคิดว่าคงต้องตั้งใจเรียนกว่านี้ให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าใจในเนื้อหาตรงจุดนั้นให้ชัดเจนและสามารถที่จะนำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ได้รวมถึงสามารถบอกคนอื่นต่อไปได้เวลามีคนมาถาม


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการสอบไปหาข้อมูลหรือไปอ่านตรงจุดที่เราไม่เข้าใจเพื่อที่จะเข้าใจในตรงจุดนั้นเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะได้ไปใช้กับเด็กได้ถูกวิธีและถูกต้องและสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมมาสามารถนำไปบอกต่อคนอื่นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำข้อสอบก็จะตั้งใจทำเพื่อที่จะได้รู้ศักยภาพของตนเองด้วยว่าต้องควรปรับปรุงหรือส่งเสริมในจุดไหนบ้าง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจสอบไม่คุยกันเสียงดังแอบมีปรึกษากันบ้างนิดหน่อย
อาจารย์ = อาจารย์มีการแนะแนวทางในการทำข้อสอบมีการพูดคุยเพื่อไม่ให้นักศึกษาเครียดจนเกินไป


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  19  มีนาคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ แต่ก่อนที่อาจารย์จะสอนอาจารย์ให้ตอบคำถามเชิงจิตวิทยาเป็นคำถามสนุกๆเพื่อคลายความเครียดก่อนที่จะเรียนเนื้อหาจากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมระบายสีเป็นวงกลมตามใจชอบ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
•เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
•อยากทำงานตามความสามารถ
•เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
•การได้ทำด้วยตนเอง
•เชื่อมั่นในตนเอง
•เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
•ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
•ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
•ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
•“ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
•เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
•หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
•เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
•มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
•แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
•เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
•เข้าไปในห้องส้วม
•ดึงกางเกงลงมา
•ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
•ปัสสาวะหรืออุจจาระ
•ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
•ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
•กดชักโครกหรือตักน้ำราด
•ดึงกางเกงขึ้น
•ล้างมือ
•เช็ดมือ
•เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
•แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ 


*ภาพกิจกรรมระบายสีวงกลม*
ซึ่งวงกลมนี้สามารถบ่งบอกถึงนิสัยจิตใจของตัวเราได้ซึ่งจุดที่อยู่ในสุดสามารถบ่งบอกได้เราจิตใจข้างในเราเป็นอย่างไรวงกลมวงนอกสุดคือสิ่งที่เราแสดงออกมา




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เมื่เราเจอสถานการณ์ต่างๆ เช่นในห้องเรียนรวมที่มีเด็กพิเศษเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่ต้องการจะทำอะไรแล้วเขาไม่สามารถทำด้วยตนเองได้เราจะมีวิธีที่จะช่วยเขาอย่างไรโดยที่เราให้เขาสามารถทำได้ด้วยตนเองหรือถ้าห้องนั้นมีเด็กพิเศษจะมีวิธีการอย่างไรในการสอนเด็กเหล่านั้นให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ และกิจกรรมที่ทำคือกิจกรรมระบายสีเป็นวงกลมตามใจชอบซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถนำไปใช้กับเด็กได้เพราะสามารถดูเด็กแต่ละคนได้ด้วยว่าแต่ละคนเป็นอย่างไรสามารถบ่งบอกตัวตนของแต่ละคนได้เพื่อที่เราจะได้รู้ถึงพฤติกรรมของแต่ละคนในห้องเรียน
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบเจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม นอกจากนี้ยังมีการร้องเพลงอีกด้วย สุดท้ายกิรรมที่อาจารย์เตรียมมาเป็นกิจกรรมที่ง่ายสามรถนำไปใช้กับเด็กได้จริงและยังสนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนอีกด้วย


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

(EAED 3214)

วันพฤหัสบดีที่  12  มีนาคม  2558

ภาคเรียนที่ 2/2557

เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ  
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ จากนั้นได้ให้ร้องเพลงที่สอนไปเมื่อสัปดาห์ก่อนโดยเป็นการทบทวนว่าร้องกันได้หรือไม่จากนั้นอาจารย์ให้ทำกิจกรรมบำบัดโดยใช้เสียงเพลงและศิลปะเป็นตัวช่วยในการบำบัดทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
•เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
•ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
•ถามหาสิ่งต่างๆไหม
•บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
•ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
•การพูดตกหล่น
•การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
•ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
•ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
•ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
•อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
•อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
•ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
•ทักษะการรับรู้ภาษา
•การแสดงออกทางภาษา
•การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
•การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
•ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
•ให้เวลาเด็กได้พูด
•คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
•เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
•เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
•ใช้คำถามปลายเปิด
•เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
•ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)

ภาพประกอบการเรียนการสอน



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนรวมถึงในสถานการณ์ต่างๆที่เราอาจจะเจอในอนาคตได้ เช่นในห้องเรียนรวมเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันหรือถ้าห้องนั้นมีเด็กพิเศษจะมีวิธีการอย่างไรในการสอนเด็กเหล่านั้นให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ นอกจากนี้มีเพลงที่สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้หรือใช้ร้องให้เด็กพิเศษฟังได้ และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมบำบัดคือใช้ดนตรีและศิลปะในการบำบัดซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงซึ่งเด็กน่าจะมีความสุขและเพลิดเพลินในการทำกิจกรรม
การประเมินผล
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจมีการนำประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพบเจอมาเล่าให้นักศึกษาฟังซึ่งทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพตาม นอกจากนี้ยังมีการร้องเพลงอีกด้วย สุดท้ายกิรรมที่อาจารย์เตรียมมาเป็นกิจกรรมที่ง่ายสามรถนำไปใช้กับเด็กได้จริงและยังสนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนอีกด้วย


นางสาว ชลิดา     อินทร์ถนอม